artwork

I see what you saw

I see what you saw ฉันเห็นในสิ่งที่เธอเคยเห็น Artist statement “ I see what you saw “ การรับรู้มักมาพร้อมกับความรู้สึกของมนุษย์เสมอ มนุษย์สร้างความรู้สึกให้เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา บางครั้งเกิดขึ้น แล้วก็หายไป แต่บางครั้งเกิดขึ้นแล้วก็ทิ้งค้างอยู่อย่างนั้น ปล่อยให้ความรู้สึกนั้นพัฒนาไปเป็น อารมณ์ ซึ่งความรู้สึกและอารมณ์จะเป็นตัวผลักดันให้เรามีทัศนคติต่อเรื่องต่างๆ แต่มีความคิดบางอย่างที่เกิด ขึ้นหลังจากการรับรู้ เป็นความคิดที่ผ่านการไตร่ตรองจากประสบการณ์ ภูมิหลัง และความเชื่อนั้นมักจะขัดแย้ง กับการรับรู้ พื้นฐานตามธรรมชาติที่เกิดขึ้น ความขัดแย้งทั้งสองอย่างนี้เกิดขึ้นและต่อสู้กันอยู่ตลอดเวลา แล้วส่งผลให้เกิด ความขัดแย้งขึ้นระหว่างความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน การต่อสู้กันระหว่างการรับรู้ปกติของมนุษย์ กับความคิดที่ผ่านการไตร่ตรองจากประสบการณ์ ภูมิหลัง และ ความเชื่อนั้นทำให้เกิดการต่อสู้ที่แสดงผลของการต่อสู้นี้ออกมาในรูปแบบของทัศนคติที่แสดงออกผ่าน สัญลักษณ์ ที่แตกต่างกัน การต่อสู้นี้มิได้แสดงลักษณะของความรุนแรง แต่มันแสดงลักษณะของความงามที่ ต่างกันเพียง เล็กน้อยจากทัศนคติที่แตกต่างกัน เพียงแค่นั้นมันก็ส่งผลให้เกิดการกระทบกระเทือนอย่าง มากมายมหาศาล จนมันสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเราไปได้โดยที่เราไม่สามารถรู้ตัวได้เลย การต่อสู้นี้เกิดเป็น ความขัดแย้งและส่งผลกระทบมากมายอยู่ภายใน ซึ่งในที่สุดแล้วเราจำเป็นต้องจัดการบางอย่างเกี่ยวกับมัน มิฉะนั้นมันจะส่งผล ต่อเนื่องกับเราต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด จากความคิดที่เกิดขึ้นนี้ข้าพเจ้าได้ทำงานร่วมกับช่างภาพ วนิดา พรสมบัติไพบูลย์...

A Forming of the Utopia

A Forming of the Utopia การก่อรูปของยูโธเปีย แนวความคิด การก่อรูปของยูโธเปีย เราเกิดมาพร้อมสงคราม แม้ในยามที่สงบที่สุดก็ยังมีสงครามเกิดขึ้น สงครามเกิดจากการสร้างความจริงขึ้นมาของแต่ละคน ความจริงที่ไม่เหมือนกัน แม้จะเป็นเรื่องเดียวกัน แล้วแต่ละคนก็ยึดมั่นว่าความจริงของตนถูกต้อง ไม่เพียงการสร้างความจริงขึ้นมาเรื่องเดียว แต่เราค่อยๆสร้างความจริงของเราขึ้นมาเรื่อยๆ จนจำเป็นต้องสร้างพื้นที่ขึ้นมาเก็บความจริงของตนเอง สร้างผืนนำ้อันเวิ้งว้างกว้างใหญ่ขึ้นมาล้อมรอบแล้วก็สร้างสิ่งกีดขวาง สร้างยามที่เชี่ยวชาญการเคลื่อนที่ในนำ้ขึ้นมาระวังป้องกันไม่ให้ความจริงของคนอื่นย่างกรายเข้ามา สร้างมันให้กลายเป็นพื้นที่โดดเดี่ยว ห่างไกลที่สุดจนยากจะเข้าถึง แล้วเรียกพื้นที่นั้นว่า “UTOPIA” สงครามภายใน “UTOPIA” เกิดจากสิ่งที่เกิดขึ้นภายนอก จากสิ่งที่เชื่อมโยงกับตนเอง แล้วส่งผลไปถึงภายใน ทำให้สงครามลุกลามไปถึงทุกๆเซลล์ทุกๆรูขุมขนในร่างกาย เกิดการสร้างจุดเชื่อมต่อมากมายขึ้นระหว่างภายในและภายนอก จุดเชื่อมต่อที่ถูกสร้างขึ้นไม่สามารถปิดการทำงาน มันเชื่อมต่อทุกๆสิ่งที่เชื่อมโยงกับตัวตนภายในอยู่ตลอดเวลาโดยที่เราไม่รู้ตัว ต่อเมื่อวันหนึ่งที่เรารู้ตัวมันก็ไหลเข้ามามากมายเกินกว่าที่เราจะรับมือไหว และส่งมันกลับออกไป หลายๆสิ่งถูกทิ้งค้างกลายเป็นศัตรูอยู่ภายใน ซึ่งยามเฝ้าระวังภายในคือความรู้สึกที่พยายามค้นหาศัตรูที่เกิดจากสิ่งแปลกปลอม และพยายามทำลายและกำจัดมันออกไป แต่ศัตรูมีมากเกินกว่าที่ความรู้สึกของเราจะกำจัดได้หมด สงครามจึงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา  แม้ในวันที่สงบสุขที่สุด ความรู้สึกยังคงค้นหาสิ่งแปลกปลอมที่แฝงตัวอยู่รอบๆ ที่คอยจะแทรกซึมเข้าไปทุกๆอณูที่แม้แต่ความรู้สึกยังสัมผัสไม่ได้ สิ่งแปลกปลอมจะพาความจริงของคนอื่นให้แทรกแซงความจริงที่เราสร้างขึ้น มันจะทำลายโครงสร้างในการก่อตัวความจริงของเรา และทดแทนโครงสร้างที่ถูกทำลายไป จนเราเชื่อว่าความจริงที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้นคือความจริงที่เราสร้างขึ้นมาเอง และเกิดการพรางตัว และแฝงตัวอยู่ภายใน จนอาจเปลี่ยนแปลงความคิด ความเชื่อของเราไปตลอด ความจริงที่เกิดขึ้นใหม่ กับสิ่งแปลกปลอมที่พยายามแทรกตัวเข้ามาทำลายโครงสร้างของความจริงนั้นเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ความรู้สึกที่ทำหน้าที่ตรวจจับจะทำสงครามกับสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ชื่อผลงาน : การก่อรูปของยูโธเปีย เทคนิค : กล่องกระดาษใช้แล้ว...

Eco Recycle : Time and Identity

Eco Recycle : Time and Identity การนำกลับมาใช้ใหม่ : เวลาและอัตลักษณ์ แนวความคิดในการสร้างสรรค์ การดำเนินชีวิตในปัจจุบัน เราใช้สิ่งต่างๆไปอย่างมากมาย สิ่งของและผลิตภัณท์ต่างๆ โดยเฉพาะ เวลา และ ความเป็นตัวตน (อัตลักษณ์) ใช้แล้วก็ทิ้งสิ่งเหล่านั้นไป กระบวนการใช้ การทิ้ง และการนำกลับมาใช้ใหม่ มีขั้นตอนและกระบวนการทำงานที่แตกต่างกัน ก่อนจะกล่าวถึงกระบวนการใช้ จำเป็นต้องกล่าวถึงกระบวนการสร้างสิ่งนั้นขึ้นมาก่อน กระบวนการสร้างเป็นกระบวนการสร้างรูปร่าง รูปทรงของสิ่งๆหนึ่งขึ้นมา จากนั้นค่อยๆเพิ่มเติมรายละเอียดต่างๆเช่น รูปลักษณ์ หน้าที่ วิธีการใช้งาน รวมทั้งสัญญลักษณ์ต่างๆที่ถูกบรรจุรวมกับรูปลักษณ์ทางกายภาพ สร้างเป็นอัตลักษณ์ของสิ่งนั้นๆขึ้นมา กระบวนการสร้างเป็นการเพิ่มเวลาเข้าไปในสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น เวลานั้นจะคงอยู่ต่อไปเรื่อยๆจวบจนถึงกระบวนการต่อไป กระบวนการใช้ เป็นกระบวนการใช้งานตามหน้าที่ของสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมา แต่กระบวนการใช้นั้นมีกระบวนการลดทอนอัตลักษณ์ของสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมา กระบวนการสร้างเป็นกระบวนการเพิ่มเวลา เพื่อสร้างอัตลักษณ์ เวลาที่เพิ่มขึ้นในการสร้างอัตลักษณ์เท่ากับเวลาที่เพิ่มขึ้นของสิ่งที่ถูกสร้าง แต่กระบวนการใช้เป็นการลดเวลาในการลดทอนอัตลักษณ์ให้เท่ากับเวลาที่เพิ่มขึ้นในการใช้งาน การใช้งานตามหน้าที่ของสิ่งนั้นๆทำให้เวลาเพิ่มขึ้น และการใช้งานตามหน้าที่ของสิ่งนั้นๆทำให้อัตลักษณ์สูญหายไปพร้อมๆกับเวลาที่ลดลง เมื่อลักษณะทางกายภาพเสื่อมโทรมลงและอัตลักษณ์ถูกเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เวลาที่เกิดขึ้นระหว่างการเปลี่ยนแปลงเดินเร็วขึ้น เพื่อนำไปสู่กระบวนการทิ้ง กระบวนการทิ้ง เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นหลังจากที่สิ่งต่างๆหมดสภาพ และอัตลักษณ์ถูกทำลายลง กระบวนการทิ้งทำให้เวลาหยุดนิ่งกลายสภาพเป็นสูญญากาศ ซึ่งสิ่งที่ถูกทิ้งจะล่องลอยวนเวียนอยู่ในพื้นที่นั้นไปมา รอเวลาที่จะกลับมามีอัตลักษณ์ และเดินทางไปบนแท่งเวลาอีกครั้ง กระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่...

Bringing a Mountain into a Gallery

Bringing a Mountain into a Gallery ย้ายภูเขามาไว้ในห้องแสดงภาพ แนวความคิดในการสร้างสรรค์ แรงบันดาลใจเกิดจากการเห็นภูเขาเป็นครั้งแรกหลังจากที่มาถึงสนามบินในรัฐมอนทานา ประเทศสหรัฐอเมริกา ภูเขาที่นี่แตกต่างจากภูเขาในประเทศไทยที่มีความคุ้นเคยมาก่อน ความประทับใจที่เกิดจากความแตกต่างทำให้เกิดความคิดที่จะนำภูเขาที่ไม่ใช่เพียงลักษณะทางกายภาพแต่ยังนำจิตวิญญาณที่มีอยู่ในธรรมชาติเข้ามาไว้ในแกลเลอรี่ด้วย ในเช้าวันหนึ่ง เมื่อเพื่อนของข้าพเจ้าพาไปเดินขึ้นภูเขาใกล้ๆมหาวิทยาลัยของรัฐมอนทานา เมื่อเดินขึ้นไปบนภูเขาเรื่อยๆข้าพเจ้าเห็นหญ้าขึ้นปกคลุมทั่วไปหมด สิ่งที่เห็นทำให้ข้าพเจ้าสนใจหญ้าที่ขึ้นปกคลุมภูเขา ซึ่งมองดูแล้วหญ้าเหล่านั้นเปรียบเสมือนผิวหนังของภูเขา สิ่งที่ไม่มีชีวิตคือภูเขาถูกปกคลุมไปด้วยสิ่งมีชีวิตคือหญ้า โดยที่ทั้งสองสิ่งต้องพึ่งพาอาศัยกัน หญ้า (สิ่งมีชีวิต) ต้องพึ่งพาภูเขา (สิ่งไม่มีชีวิต) ที่ตนเองปกคลุมอยู่ ทำให้เกิดความสัมพันธ์ และการถ่ายเทความมีชีวิตให้แก่กันไปมา ข้าพเจ้าจึงสนใจที่จะใช้หญ้ามาเป็นวัสดุในการนำเสนอความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นนี้ หญ้าที่ถูกตัดแล้วเป็นสิ่งไม่มีชีวิตแต่คนที่สานมันขึ้นมาเป็นแผ่นเป็นสิ่งมีชีวิต ดังนั้น กระบวนการสร้างได้ถูกทำซ้ำขึ้นอีกครั้งภายในแกลเลอรี่ ซึ่งภาพที่ปรากฎทางกายภาพในแกลเลอรี่นั้นดูแตกต่างจากภูเขาในธรรมชาติ แต่จิตวิญญาณที่ถูกใส่เข้าไปจากผู้ที่สานมันขึ้นมานั้นดูยิ่งใหญ่เหมือนกับเรามองภูเขาที่อยู่ในธรรมชาติจริงๆ โครงการนี้ข้าพเจ้าได้ทดลองสานเสื่อขึ้นมาด้วยตัวเอง และทำการสอนอาสาสมัครให้สานเสื่อร่วมกับข้าพเจ้าการเพิ่มหญ้าทีละเส้นเพื่อสร้างให้เกิดเป็นผืนเสื่อขึ้นมานั้นเหมือนกับการก่อตัวของภูเขาที่ค่อยๆก่อตัวเป็นรูปร่างต่างๆขึ้นมาด้วยเวลาที่ยาวนาน ซึ่งการสานเสื่อของแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แสดงออกมาไม่เหมือนกัน แต่ดูโดยรวมแล้วกลับมีความคล้ายคลึงกัน ความคล้ายคลึงของแผ่นที่เกิดจากการสาน แต่ยังคงมีความแตกต่างกันเหมือนกับต้นหญ้าที่มีความคล้ายคลึงแต่มีความแตกต่างได้มาประสานรวมกันขึ้นเป็นรูปร่างเดียวกันขึ้นมา ชื่อผลงาน : ย้ายภูเขาเข้ามาไว้ในแกลเลอรี่ เทคนิค : สานหญ้ามอนทาน่า ขนาด : 300x500x150 ซม. Size:300x500x150cm. ปี : 2554 Title : Bringing...

Emotion Indicator

Emotion Indicatorเครื่องมือวัดความรู้สึก แนวความคิด ผลงานได้แสดงปรัชญาและการค้นหา ติดตาม ตรวจสอบ อารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้น จากผลกระทบในการดำเนินชีวิตประจำวัน การตรวจสอบระดับของอารมณ์ความรู้สึกไม่สามารถที่ จะวัดได้ เมื่ออารมณ์ความรู้สึกนั้นยังไม่เกิดขึ้น สิ่งที่สามารถทำได้คือการสังเกตสิ่งที่หลงเหลือจาก อารมณ์ความรู้สึกที่ได้แสดงออกมาแล้ว ความพยายามในการตรวจจับอารมณ์ความรู้สึกของผู้ชม ที่หลงเหลืออยู่ อาจเป็นความพยายามที่จะตรวจสอบสิ่งที่ผู้ชม และผู้ที่มีความสัมพันธ์ด้วยทิ้งไว้ ภายในตัวตนของข้าพเจ้า ระดับของสิ่งที่หลงเหลืออยู่ภายในได้เปลี่ยนแปลงความรู้สึกหรือตัวตน ของข้าพเจ้าไปมากน้อยแค่ไหน หรือจริงๆแล้วไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆเลย เพียงแต่ทุกๆอย่าง ดำเนินไปตามวิถีทางของมันเอง เพียงแค่ตัวเราเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบของสิ่งที่ดำเนินไป เพียงแต่บางสิ่งที่เข้ามากระทบ ทำให้เราเกิดความสับสนกับองค์ประกอบต่างๆที่มารวมกันแล้ว ดำเนินไป ยิ่งถ้ามีสิ่งที่มากระทบรุนแรงขึ้น ปฎิกิริยาตอบสนองที่ทุกๆสิ่งในธรรมชาติมีอยู่จะดำเนิน กระบวนการของมัน แล้วทำให้ความแปลกแยกแตกต่างเกิดขึ้นในกระบวนการของการดำเนินไป ขององค์ประกอบต่างๆที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ดังนั้นการประคับประคองให้องค์ประกอบต่างๆ ดำเนินไปได้อย่างที่มันควรจะเป็น อาจเป็นวิธีที่ดีที่จะทำให้ชีวิตเกิดความปกติสุขขึ้น ยิ่งถ้าเกิดการ เรียนรู้ในการเข้าใจระดับของผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่ง”การเข้าใจ”ในที่นี้คือการหาเหตุและผลบน พื้นฐานของความเป็นไปได้ของสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ และสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น โดย ที่”การเข้าใจ”นั้นเป็นสิ่งที่อยู่ภายใต้กระบวนการที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับระบบ และองค์ประกอบที่ ดำเนินอยู่ ดังนั้นสิ่งที่”การเข้าใจ”สร้างให้เกิดขึ้นมานั้น เป็นสิ่งที่เกิดจากความจริง หรือเป็นแค่ สิ่งที่สมควรให้เรารับรู้เท่านั้น อย่างไรก็ตามการเข้าใจและการควบคุมระดับของผลกระทบที่เกิดขึ้น ได้นั้น ย่อมทำให้ชีวิตดำเนินไปได้อย่างราบเรียบ และเป็นปกติสุข………………………….หรือไม่ ““สิ่งที่ค้นหาอาจไม่ใช่สิ่งที่ต้องการคำตอบ” “ทั้งทั้งที่เรารู้คำตอบแต่เราก็ยังอยากหาอีก””...

The Beauty of a Broken Pattern

The Beauty of a Broken Pattern ความงามของรูปแบบที่ถูกทำลาย แนวความคิดในการสร้างสรรค์ ผลงานชุดนี้ข้าพเจ้าต้องการนำเสนอความสมบูรณ์ของรูปแบบหรือแบบแผนของดาวเพดานที่ถูกทำลายลงด้วยการกระทำของผู้ชมงานโดยข้าพเจ้าได้เปรียบเทียบรูปแบบหรือแบบแผนของดาวเพดานที่คล้ายกับรูปแบบหรือแบบแผนการใช้ชีวิตของมนุษย์ในสังคม ทุกคนต้องการรูปแบบการใช้ชีวิตที่สมบูรณ์ แต่เมื่อชีวิตต้องดำเนินไปในสังคม สิ่งที่มากระทบทำให้ชีวิตขาดความสมบูรณ์ไป เช่นเดียวกับการที่ผู้ชมงานทำให้เข็มหมุดที่เรียงตัวเป็นรูปแบบของดาวเพดานหลุดร่วงลงมา  ซึ่งผู้ชมแต่ละคนอาจจะเก็บมันติดเข้าไปตามรูปแบบเดิมหรือทิ้งไว้อย่างนั้นโดยไม่สนใจกับมันก็ตาม แต่สิ่งที่ผู้ชมและข้าพเจ้าได้รับคือความไม่สมบูรณ์แบบของดาวเพดานที่เกิดขึ้นจากการหลุดร่วงไปของเข็มหมุด  ซึ่งข้าพเจ้าถูกทำให้ยอมรับความไม่สมบูรณ์ที่เกิดขึ้นจากการกระทำของผู้ชม  แต่ผู้ชมนั้นได้รับความไม่สมบูรณ์จากการกระทำของตนเอง โดยที่ผู้ชมแต่ละคนอาจจะรู้สึกถึงผลที่ได้รับแตกต่างกันออกไป  กระบวนการที่สำคัญในขั้นตอนนี้คือพื้นไม้ที่ข้าพเจ้าใส่สปริงไว้ด้านล่าง  เมื่อผู้ชมเดินเข้ามาภายในผลงานแล้วเหยียบเท้าลงบนพื้นโดยที่ไม่ทันคาดคิดพื้นจะยุบตัวลงไปตามน้ำหนักตัวของผู้เหยียบ ซึ่งความรู้สึกที่เกิดขึ้นจะเหมือนกับเวลาที่ก้าวลงพื้นต่างระดับ  โดยที่ ไม่ได้่รับรู้มาก่อนว่าพื้นไม่เท่ากัน จึงทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองขึ้น โดยที่ทุกคนคงเคยได้รับประสบการณ์เช่นนี้มาแล้ว  ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นทันทีทันใดโดยที่ไม่คาดคิดมาก่อนอาจเทียบเคียง ได้กับการบรรลุธรรมของพระในลัทธิเซน  ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นฉับพลันอาจให้อะไรๆกับเราได้มากมายกว่าที่เราคาดไว้ ชื่อผลงาน : ความงามของรูปแบบที่ถูกทำลาย เทคนิค: ภาพพิมพ์อิงค์เจ็ท แม่เหล็ก เข็มหมุด ขนาด: 250 x 250 x 250 ซ.ม. ปีที่ทำ: 2549 Title : The Beauty of a Broken Pattern Technique : Inkjet...

The Beauty of a Broken Language

The Beauty of a Broken Language ความงามของภาษางูๆ ปลาๆ แนวความคิดในการสร้างสรรค์ ความไม่สมบูรณ์ในเรื่องของภาษานั้นเกิดจากความไม่เข้าใจสังคมและวัฒนธรรม  ความเชื่อ และอีกหลายๆอย่างของภาษาอีกภาษาหนึ่งที่เราใช้สื่อสารกัน ซึ่งไม่ใช่ภาษาที่เราคุ้นเคย ความไม่เข้าใจในสิ่งที่เป็นเครื่องมือในการสื่อสารอย่างชัดเจนทำให้เกิดการตีความที่แตกต่างกันไป ตามแต่ประสบการณ์และการเรียนรู้ของแต่ละคน ความแตกต่าง ทำให้ความเข้าใจคลาดเคลื่อนไป  ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปของแต่ละคนทำให้การสื่อสารขาดความสมบูรณ์ ข้าพเจ้าใช้รูปแบบของสื่อในการเรียนภาษาต่างประเทศ ที่นำเสนอตัวอักษรในภาษาต่างๆ ประกอบกับคำอ่านที่บอกความหมาย ด้วยคำที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรตัวนั้น แต่ข้าพเจ้าใช้ภาษา นำเสนอในรูปแบบของภาษาอื่นแต่คำที่บอกความหมายนั้นออกเสียงเป็น ภาษาไทย ผลงานในชุดนี้ข้าพเจ้านำภาษาอังกฤษมาเป็นภาษาที่ใช้ในการนำเสนอ เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่เราคุ้นเคยภาษาที่สอง ภาษาเป็นสัญลักษณ์ของการเรียนรู้ และทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ แต่ถ้าภาษานั้นกลับนำเสนอสิ่งที่ไม่ถูกต้องขึ้นมา มันก็จะกลายเป็นสิ่งที่หาคุณค่าไม่ได้ และไม่มีความสมบูรณ์ในตัวมันเอง ชื่อผลงาน : ความงามของภาษางูๆ ปลาๆ เทคนิค: เทคนิคผสม ขนาด: แปรผันตามพื้นที่ ปีที่ทำ : 2549 Title : The Beauty of a Broken Language Technique : Mixed Techniques...

mai-pen-rai

The Beauty of MAI – PEN – RAI แนวความคิดในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะชุด “The Beauty of ไม่เป็นไร” ถ้าจะพูดถึงคำว่า”ไม่เป็นไร” ทุกคนคงเคยพูดคำนี้ เหมือนเป็นคำพูดติดปากสำหรับคนไทย ข้าพเจ้าเองก็พูดคำนี้อยู่เป็นประจำ ประจำจนลืมนึกถึงความหมายของมันเวลาพูด จนวันหนึ่งมีเพื่อนต่างชาติถามข้าพเจ้าว่า “ที่คุณพูดว่าไม่เป็นไรน่ะ คุณรู้สึกอย่างนั้นจริงหรือเปล่า” คำถามนี้เองทำให้ข้าพเจ้าได้ค้นหาคำตอบที่มีความหมายในสิ่งที่ข้าพเจ้าใช้พูดอยู่เป็นประจำ วันนั้นข้าพเจ้าตอบเพื่อนต่างชาติไปว่า “ที่ข้าพเจ้าพูดว่าไม่เป็นไรนั้น ข้าพเจ้ารู้สึกอย่างนั้นจริงๆ ถ้าสิ่งนั้นทำให้คนๆหนึ่ง หรือหลายๆคนมีความสุข และแม้ว่าสิ่งนั้นมันจะทำให้ข้าพเจ้าเป็นทุกข์บ้างก็ “ไม่เป็นไร” จากคำถามและคำตอบในวันนั้น ทำให้ต้องกลับมานั่งคิดอย่างเป็นจริงเป็นจังกับคำว่า”ไม่เป็นไร” ทุกครั้งที่พูดคำว่า”ไม่เป็นไร” จะทำให้เกิดผลกระทบต่างๆที่มีผลต่อความรู้สึกทั้งในด้านดีและร้าย ผลกระทบที่กระตุ้นให้เราได้คิดและพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของตนเอง ผลกระทบที่ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกันระหว่างวิถีชีวิตกับความเชื่อ ปรัชญาในการดำรงชีวิตกับการใช้ชีวิต จิตใจกับร่างกาย และแนวคิดเรื่องพื้นที่ส่วนตัวกับพื้นที่สาธารณะ อาจจะให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น เมื่อเปรียบเทียบสิ่งที่กำลังพูดถึงอยู่กับยุง สัตว์ตัวเล็กๆที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา ซึ่งเชื่อว่าทุกคนคงเคยถูกยุงกัด เราคงมีความรู้สึกที่อยากตบมันให้ตาย เพราะมันมาสร้างความรำคราญให้กับเรา และมันยังเป็นแค่สัตว์ตัวเล็กๆ สิ่งเล็กๆน้อยๆที่เราสามารถจัดการกับมันได้โดยง่าย ถ้าเราตบมันตาย สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนั้นไม่เหลืออะไรให้รบกวนจิตใจ แต่ถ้าความมุ่งมั่นของเราในขณะที่ค่อยๆเอื้อมมือเข้าไปใกล้ตัวมัน แล้วตบลงไปอย่างแรง แต่มันกลับรู้ตัวก่อนและบินหนีการตบนั้นไปได้ เราคงไม่ละความพยายามในการติดตามล่าตัวมันเพื่อขยี้มันให้แหลกคามือ ยิ่งถ้ามันหนีไปได้ มันคงทิ้งความหงุดหงิดรำคราญใจไว้ให้ และถูกนำไปเก็บไว้ภายในจิตใจของเรา...

Year of the Horse

Year of the Horse ชื่อผลงาน : ปีม้า เทคนิค : ไม้ นํ้า วัสดุธรรมชาติ ขนาด : 823 x 200 x 205 ซ.ม. ปี : 2545 Title : Year of the Horse Technique : wood, water, natural material Year : 2002

A transition of the relationship

A transition
An Artist statement A Transition of the Relationship between Living Feeling and Body as an Ending of life 1998 - 2003 Many years ago I started making sculpture after many years of printmaking. My move from Bangkok to Chonburi and the countryside of Thailand was decisive in this sculpture is, for me, a more direct...
1 2